วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พรบ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

วันนี้เข้าร่วมการสัมมนากับ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สนง.ปลัดกระทรวง ICT ที่โรงแรมปรินซ์พาเลส พรบ.ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 นี้เป็นต้นไป เป็น กม.ที่เกี่ยวกับประชาชนทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย
1.พิทักษ์สิทธิส่วนบุคคล
2.มีบทลงโทษทางอาญาแก่คนที่ละเมิด
มีคำที่ควรทราบคือ
-ระบบคอมพิวเตอร์
-ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์
-ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
-ผู้ให้บริการ
-ผู้ใช้บริการ

หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระทำโดยมิชอบ

มาตรา การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา ๖ การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง
มาตรา ๗ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๘ การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
มาตรา ๙ การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา ๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา ๑๑ สแปมเมล์ (Spam Mail)
มาตรา ๑๒ การกระทำความผิดต่อความมั่นคง
มาตรา ๑๓ การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด
มาตรา ๑๔ การปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์/เผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม
มาตรา ๑๕ ความรับผิดของผู้ให้บริการ
มาตรา ๑๖ การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ/ดัดแปลง

มาตรา ๕
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการ
ป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับ
ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ
ทั้งปรับ

มาตรา ๖
ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่น
จัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย
แก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
หนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการ
ป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ
และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ
ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
การพิจารณาฐานความผิด
- การกระทำซึ่งเป็นความผิดตามมาตรา 7 อาจต้องมีการกระทำความผิดตาม
มาตรา 5 เสียก่อน

มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อ
ดักรับไว้ซึ่งข้อมููลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่าง
การส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไป
ใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ

มาตรา ๙
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม
ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ

มาตรา ๑๐
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของ
ระบบคอมพิวเตอร
์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่
สามารถทำงานตามปกติได้
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑
ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่
บุคคลอื่นโดยปกปิด
หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูล
ดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกัน
หรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
สิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒)เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร
หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
ความ
ปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ
การบริการสาธารณะ
หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ
คอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์
สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต
่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึง
สามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ต้องระวาง
โทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี


มาตรา ๑๓
ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อ
นำไปใช้เป็นเครื่องมือ
ในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖
มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙
มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔
ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑)นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒)นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ
ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับ
การก่อ
การร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕)เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์
ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)

มาตรา ๑๕
ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำ
ความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับ
ผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร
์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพ
ที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย

มาตรา ๑๘ อำนาจทั่วไปของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง แบ่งเป็น
๑. อำนาจที่ดำเนินการได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจศาล
- มีหนังสือสอบถาม เพื่อให้ส่งคำชี้แจง ให้ข้อมูล
- เรียกข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์
- สั่งให้ส่งมอบข้อมูลตาม ม.๒๖
๒. อำนาจที่ต้องขออนุญาตศาล
-ทำสำเนาข้อมูล
- เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์/ข้อมูลคอมพิวเตอร์
- ถอดรหัสลับ
- ยึดอายัดระบบคอมพิวเตอร์

มาตรา ๑๙
การจำกัดการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมี
เงื่อนไขการใช้อำนาจทั่วไป
ตามมาตรา ๑๘
- การขออนุญาตศาล
- การส่งคำร้องขอศาล
- ระยะเวลาในการยึด/อายัดระบบคอมพิวเตอร์ ๓๐ วัน หรือ ๖๐ วัน

มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดเป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่
1.อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสอง
ลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
2. ที่มีลักษณะขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง
พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับ การทำให้
แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พบว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย
พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้
1. มี
คำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่
2.สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลาย หรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้
3. จะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค
์ดังกล่าวก็ได้โดยชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ หมายถึง ชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์
หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข
เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม ขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒
ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่
เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์
ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ
ที่
ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำ
1.เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
2.เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับ
การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
3.เป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาล
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใด
กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔
ผู้ใดล่วงรู้
ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘
และ
เปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี
หรือปรับไม่
เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕
ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่
พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้
แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง
หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖
ผู้ให้บริการต้อง
เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็น
พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทาง
คอมพิวเตอร์ไว้
เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปี
เป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้
ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบ
ุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่
น้อยกว่า
เก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

มาตรา ๒๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญ
เกี่ยวกับ
ระบบคอมพิวเตอร์
และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้
พนักงานเจ้าหน้าที๋ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคด
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครอง
หรือตำรวจชั้น
ผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงาน กับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการ
ตามอำนาจ
หน้าที่ต่อไป
ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติและรัฐมนตรีมีอำนาจ
ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรค
สอง

(คัดลอกบางส่วนจาก PowerPoint ของ
โดย พ.ต.ท.นิเวศน์ อาภาวศิน รองผู้กำกับการ ศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยhttp://htcc.police.go.th)

ไม่มีความคิดเห็น: